หมวดหมู่: เรียนภาษาเยอรมัน ด้วยตัวเอง

บทที่ 30 : การถามเวลา

Published / by Language Tutor

Wie spät ist es? (วีชะเปทอีสท์เอส) ตอนนี้กี่โมงแล้ว

วันนี้เราจะมาบอกเวลากันค่ะ มีทั้งแบบที่เป็นทางการ คือได้ยินจากในวิทยุหรือโทรทัศน์นะคะ และมีทั้งแบบไม่เป็นทางการ คือใช้คุยกับคนในครอบครัวหรือเพื่อนค่ะ เรามาดูในแบบเป็นทางการก่อนนะคะแบบนี้ง่ายมากค่ะเห็นอะไรอ่านไปตามนั้นเลยค่าใครที่ยังจำตัวเลขไม่ได้ลองย้อนกลับไปดูก่อนนะคะ

9.00 Uhr (นอยน์อัว) 9 โมง
9.05 Uhr (นอยน์อัวฟึนฟ์มินูเท่น) 9 โมง 5 นาที
9.30 Uhr (นอยน์อัวดรายสิคมินูเท่น) 9 โมง 30 นาที
9.45 Uhr (นอยน์อัวฟึนฟ์อุนท์เฟียสิค) 9 โมง 45 นาที

การถามเกี่ยวกับเวลา

แบบไม่เป็นทางการมีให้จำแบบคร่าวๆนะคะเช่น 9.00 – 9.29 เราจะใช้คำว่า nach (นาค) แปลว่าหลังคั่นกลาง นะคะโดยพูดนาทีก่อนค่ะ เช่น

9.00 Uhr (นอยน์อัว) 9 โมงนี้อ่านเหมือนแบบเป็นทางการเลยค่ะ

9.05 Uhr (ฟึนฟ์นาคนอยน์) ซึ่งแปลเป็นไทยตรงตัวว่า “5 (นาที) หลัง 9 (โมง)”

9.10 Uhr (ฟึนฟ์นาคนอยน์) ซึ่งแปลเป็นไทยตรงตัวว่า “5 (นาที) หลัง 9 (โมง)”

9.15 Uhr (เฟียเทลนาคนอยน์) ซึ่งแปลเป็นไทยตรงตัวว่า “5 (นาที) หลัง 9 (โมง)”

9.20 Uhr(สวานสิคนาคนอยน์) ซึ่งแปลเป็นไทยตรงตัวว่า “5 (นาที) หลัง 9 (โมง)”

*9.30 Uhr (ฮาล์บเซน) ซึ่งแปลเป็นไทยตรงตัวว่า “อีกครึ่งชั่วโมงจะ 10 (โมง)”

เวลาหลังจาก 9.30 เป็นต้นไปเราจะเปลี่ยนจากคำว่า nach หลังเป็น vor (ฟอร์) ที่แปลว่าก่อนนะคะและจะใช้หลักการว่า“อีก … นาทีจะถึง … โมง” เช่น

9.40 Uhr (สวานสิคฟอร์เซน) ซึ่งแปลเป็นไทยตรงตัวว่า“อีก 20 (นาที) จะถึง 10 (โมง)”

9.45 Uhr (เฟียเทบฟอร์เซน) ซึ่งแปลเป็นไทยตรงตัวว่า“อีก15 (นาที) จะถึง 10 (โมง)”

9.50 Uhr (เซนฟอร์เซน) ซึ่งแปลเป็นไทยตรงตัวว่า“อีก10 (นาที) จะถึง 10 (โมง)”

มีข้อสังเกตว่าในการบอกเวลาแบบไม่เป็นทางการเราจะเรียก 15 นาทีว่า Viertel (เฟียเทล)

ตัวอย่างประโยคง่ายๆค่ะ

A: Wie spät ist es? (วีชะเปทอีสท์เอส) ตอนนี้กี่โมงแล้ว

B: Moment, oh es ist 6.50. (โมเม้นโอ้เอสอีสท์เซนฟอร์ซีเบ่น) เดี๋ยวนะโอ้ตอนนี้อีก 10 นาที 7 โมง