Shyam อธิบายว่าต้องทำอะไร

Shyam พร้อมประสบการณ์ เคล็ดลับ และเทคนิคต่างๆทั้งหมดที่ช่วยให้เขาประสบความสำเร็จได้คะแนน Band 8.5 ในข้อสอบ IELTS  หลังจากมีเวลาเตรียมตัวสอบเพียงหนึ่งสัปดาห์ เพื่อให้คุณรู้ถึงเบื้องหลังสักเล็กน้อย Shyam เป็นชายอินเดียอายุ 30 ปี ผู้เข้าสอบ IELTS ที่พูดภาษาฮินดีเป็นภาษาแม่ Shyam ลองมาอ่านเทคนิคของเขากัน:

สิ่งแรกคือการทำความคุ้นเคยกับโครงสร้างของข้อสอบ ทั้ง 4 ช่วง เวลาของแต่ละช่วง จำนวนและประเภทของคำถามในแต่ละช่วง กลยุทธ์และเทคนิคในแต่ละช่วง ตัวอย่างคำถาม และอื่นๆอีกมากมาย ที่ที่ดีที่สุดในการหาข้อมูลทั้งหมดคือเว็บ ielts.org และ IELTS blog อย่าลืมว่าข้อสอบการอ่านและการเขียนมีความแตกต่างกันระหว่างข้อสอบประเภทวิชาการและทั่วไป ดังนั้นต้องให้มั่นใจว่าคุณอ่านหรือซื้อหนังสือเล่มที่ถูกต้อง

สิ่งถัดไปคือการเข้าใจจุดอ่อนและจุดแข็งของคุณที่มีต่อข้อสอบแต่ละช่วง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินว่าคุณควรใช้เวลาเท่าไหร่กันแน่ในการเตรียมตัวในข้อสอบแต่ละช่วง ผมเริ่มเตรียมตัวเพียงหนึ่งอาทิตย์ก่อนวันสอบจริงเพราะผมต้องทำงาน ผมเน้นในเรื่องการจัดสรรเวลา ต้องมั่นใจว่าคุณไม่ทอดทิ้งจุดแข็งของคุณ และจับเวลาเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับทักษะนั้นในขณะเดียวกันต้องโฟกัสไปที่จุดอ่อนของคุณด้วย

ผมแนะนำให้คุณฝึกทำแบบฝึกหัดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เริ่มด้วยการทำข้อสอบแต่ละส่วน และทำหมดทั้ง 3 ส่วน (การฟัง การอ่าน และการเขียน) ในครั้งเดียว ต้องมั่นใจว่าคุณทำข้อสอบทุกช่วงภายในเวลาที่กำหนด ในขณะที่ทำแบบฝึกหัด ผมแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าให้คุณปริ้นท์ทั้งคำถามและคำตอบออกมาเพื่อที่คุณจะได้รู้สึกว่าเป็นการทำข้อสอบจริง คุณสามารถหากระดาษคำตอบสำหรับทั้ง 3 ช่วงจากเว็บไซต์ IELTS นอกจากนี้ แนะนำให้ใช้ดินสอตอบทำข้อสอบจริงอีกด้วย

ในขณะที่เตรียมตัว ผมแนะนำให้เริ่มด้วยข้อสอบส่วนที่คุณไม่ถนัดมากที่สุดก่อนหรือว่ามีความมั่นใจน้อยที่สุด หลังจากฝึกทำข้อสอบไปสองสามชุด คุณจะสามารถพัฒนากลยุทธ์ของตัวคุณเองในข้อสอบแต่ละส่วน พยายามหาสิ่งที่ใช่สำหรับคุณ

การฟัง

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการฟังอย่างต่อเนื่องอย่างตั้งใจ นี่ฟังดูเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องบอกแต่หากคุณหยุดฟังเมื่อตอนที่คุณหาคำตอบเจอ เทปเสียงอาจจะเปลี่ยนคำตอบในภายหลังก็เป็นได้ ฝึกทำข้อสอบให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้เคยชินกับสำเนียงที่คุณจะได้ยินแตกต่างกันออกไป อ่านคำสั่งของแต่ละคำถามอย่างระมัดระวัง ใช้เวลาช่วงก่อนเริ่มบทสนทนาจากเทปเพื่อให้คุ้นเคยกับคำถามที่เกี่ยวข้องกัน เขียนคำตอบสั้นๆลงในกระดาษคำถามในขณะที่คุณกำลังฟังและทวนคำถาม (ในตอนหลังเท่านั้น) คุณจะได้ระวังคำตอบเหล่านั้น พยายามทำตามขั้นตอนของเทปตลอดเวลา ไม่เป็นไรหากคุณตอบคำถามไม่ได้ แต่ถ้าคุณใช้เวลาในการย้อนกลับไปทวนคำถามก่อนหน้า คุณเสี่ยงมากที่จะไม่ได้ยินคำตอบส่วนที่เหลือเลย

การอ่าน

เน้นอีกครั้ง อ่านคำสั่งแต่ละคำถามอย่างตั้งใจ ในขณะที่หลายคนชอบอ่านคำถามก่อนล่วงหน้า ผมพบว่าการกวาดสายตาอ่านบทความก่อนทำให้ผมรู้ว่าคำถามจะถามอะไร สิ่งนี้ช่วยให้ผมกลับไปยังบทความและหาคำตอบที่ถูกต้องได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ผมไม่คิดว่าจะมีคำตอบที่ถูกหรือผิด เพราะแต่ละคนจะต้องหาให้ได้ว่าสิ่งไหนเหมาะสำหรับตัวเขา ในขณะที่ตอบคำถามมุ่งไปที่การใช้คำที่มาจากบทความโดยตรงหรือใกล้เคียงมากที่สุด ในขณะที่ยังคงรูปแบบและสไตล์ของคำตอบตัวอย่างไว้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในส่วนนี้คืออย่าติดอยู่ที่คำถามใดคำถามหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากข้อสอบการฟัง คุณสามารถทำเครื่องหมายไว้ที่คำถามและกลับไปทำได้ในภายหลังหากคุณมีเวลาเหลือในช่วงท้าย

การเขียน

ทำความคุ้นเคยกับโครงสร้างของข้อสอบทั้งสองช่วงนี้ ผมแนะนำให้อ่านตัวอย่างบทความ จดหมาย รายงานของ Band 8 เพื่อให้คุณได้ความรู้สึกของการทำคะแนน Band นั้นคาดหวังว่าต้องทำอะไรบ้าง ระมัดระวังเรื่องของการให้คะแนน (ไวยากรณ์ คำศัพท์ ความต่อเนื่อง) และการหักคะแนน (ความยาวไม่ถึง ความจำ การเขียนนอกเรื่อง มีคุณสมบัตตามความเหมาะสม) ในขณะที่ตอบคำถาม หากคุณใช้กระดาษคำตอบของ IELTS ในการฝึกทำข้อสอบ คุณจะรู้ว่าต้องเขียนกี่บรรทัดเพื่อให้มั่นใจอย่างคร่าวๆว่าได้เขียนครบตามคำที่กำหนด โดยที่ไม่ต้องใช้วิธีการนับคำในระหว่างที่ทำข้อสอบจริงเลย ในขณะที่เขียนบทความ ผมแนะนำว่าให้มี 4 ถึง 5 ย่อหน้า (คำนำ ความคิดเห็นส่วนใหญ่/ความคิดเห็นอื่น ความคิดเห็นของตัวคุณเอง บทสรุป) มีความคิดสร้างสรรค์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใช้คำที่เหมาะกับจุดประสงค์เท่านั้นและคำที่คุณมั่นใจในการใช้ (การสะกดคำ Tense และอื่นๆอีกมากมาย)

การพูด

ใช้ส่วนแรก (ส่วนตัว) ในการพูดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พยายามและให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเวลาที่เหมะสม ความประทับใจครั้งแรกต่อกรรมการมีความสำคัญ จำไว้ว่านี่เป็นข้อสอบส่วนเดียวเท่านั้นที่คุณรู้คำตอบล่วงหน้า ต้องมั่นใจ สุภาพ และมีความสุขในขณะที่ตอบคำถาม สรุปประโยคทั้งหมดของคุณ อย่าปล่อยให้มันค้างไว้ สำหรับข้อสอบส่วน Topic ต้องมั่นใจว่าคุณพูดมากกว่าหนึ่งนาที ไม่เช่นนั้นคุณจะถูกหักคะแนน เป็นธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการเตรียมตัวด้วยการแลกเปลี่ยนบทสนทนากับเพื่อนๆ เพื่อนที่ทำงานของคุณ ในหัวข้อที่หลากหลายต่างกันออกไป และเริ่มคิดเป็นภาษาอังกฤษ (หากคุณยังไม่ได้ทำ)

James แบ่งปันประสบการณ์ 

James เป็นผู้สอบ IELTS จากประเทศไต้หวัน เขาประสบความสำเร็จสอบผ่านด้วยคะแนน Band 8

การฟัง

ผมฟังวิทยุทุกครั้งที่ผมสามารถทำได้ ในวิทยุพูดเร็วมากกว่าเทปเสียงการฟังของข้อสอบ IELTS มาก ดังนั้นเมื่อคุณสามารถเข้าใจสิ่งที่พูดกันในวิทยุ ผมมั่นใจว่าข้อสอบการฟังของ IELTS ไม่ได้ยากเกินไปสำหรับคุณเลย ผมยังตั้งใจมากเมื่อฟังเพื่อนชาวอังกฤษเจ้าของภาษา เมื่อคุณเข้าไปอยู่ในบทสนทนาประจำวันกับเจ้าของภาษา คุณจะได้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการพูดแบบท้องถิ่นในหลากหลายสถานการณ์

การอ่าน

สิ่งที่ผมทำคือฝึกทำข้อสอบตัวอย่างให้มาก ทุกครั้งผมจะอ่านบทความที่ผมสนใจแต่ผมไม่ค่อยชอบการอ่านเท่าไหร่ คำแนะนำของผมในการสร้างนิสัยรักการอ่านเป็นประจำคือเริ่มด้วยบางสิ่งที่คุณสนใจจริงๆ หากคุณบังคับตัวเองในการอ่านบทความที่คุณคิดว่าน่าเบื่อ คุณอาจพบว่ามันยากที่จะทำต่อไป สำหรับคนที่กังวลเรื่องจำนวนคำศัพท์ ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าเทคนิคการกวาดสายตาอ่านสามารถทำให้คุณได้คะแนนสูงขึ้น

การเขียน

ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ทำการเขียนให้ถูกต้อง ผมเขียนบทความสองวันต่อหนึ่งเรื่องและแฟนของผมเป็นคนแก้ให้ หลังจากการแก้ไข ผมเชื่อมั่นว่าผมเข้าใจว่าอะไรที่สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ จะเป็นการดีที่สุดหากคุณจดโน้ตไว้ทุกครั้ง แต่บางครั้งผมขี้เกียจและข้ามส่วนนี้ไป

การพูด

พยายามพูดกับเจ้าของภาษาให้บ่อยมากยิ่งขึ้นทุกวัน คุณต้องกล้าหาญและกล้าแสดงความคิดเห็น ไม่เช่นนั้นจะไม่มีการพัฒนาใดๆเกิดขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่ผมพยายามทำคือการพูดในสิ่งเดียวกันในวิธีที่แตกต่างกันออกไป ความแตกต่างระหว่าง Band 6 และ 7 คือระดับของการอธิบาย ทุกครั้งที่คุณพูดเกี่ยวกับสิ่งหนึ่งให้คิดถึงวิธีที่ดีที่สุดในการอธิบาย นั่นคือความแตกต่างหลักของการพูดและการสื่อสาร

โดยทั่วไปแล้ว ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการคะแนนที่เพอร์เฟค หากคุณจริงจังกับการผลสอบที่คาดหวังไว้ เป็นสิ่งมีค่าที่คุณจะรู้ว่าคุณห่างไกลจากตรงนั้นแค่ไหน โฟกัสไปที่จุดอ่อนของคุณเป็นอันดับแรก สำหรับผมสิ่งนี้หมายความว่าการทำให้การพูดของผมถูกต้องแทนที่จะอ่านบทความมากๆ ซึ่งอาจไม่จำเป็นเมื่อต้องมีการปรับปรุงแก้ไข

Credit : www.ielts-blog.com