เทคนิคที่ควรรู้ในการสอบ Listening

เคล็ดลับข้อสอบ Listening ของ IELTS ชุดนี้มาพร้อมกลยุทธ์ที่จำเป็นมากมายจะทำให้คุณได้คะแนนสูงอย่างแน่นอน

IELTS Tips

  1. คาดเดาหัวข้อ –การคาดเดาสถานการณ์จะทำให้คุณรู้ล่วงหน้าว่าบทสนทนาแบบนี้เกิดขึ้นที่ไหนคุณจะได้มีภาพอยู่ในหัวไว้ก่อน ฉะนั้นคุณควรดูคำถามในแต่ละช่วงก่อนเพื่อที่คุณจะได้ไอเดียบางอย่างว่าบทสนทนานั้นมีใครคุยกับใครและเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
  2. คาดเดาคำถาม – คุณควรพยายามที่จะจับไอเดียของบทสนทนาด้วยเช่นกันว่าบทสนทนานั้นเป็นประเภทไหน ตัวอย่างเช่น ในส่วนของคำถามที่คุณต้องฟังชื่อ ตัวเลข และที่อยู่ ดูที่คำถามก่อนและเดาว่าคำตอบน่าจะเป็นอะไร ชื่อ ตัวเลข หรือว่าที่อยู่ คุณจะต้องฟังคำตอบให้ทัน
  3. ใช้เวลาสักเล็กน้อยดูที่คำถามของแต่ละช่วง– คุณมีเวลา 30 วินาทีในช่วงท้ายของคำถามแต่ละช่วงเพื่อตรวจทานคำตอบอีกครั้ง หลังจากนั้นคุณจะมีเวลาอีก 30 วินาทีเพื่อดูคำถามในช่วงต่อไป ถึงแม้ว่าคำแนะนำบอกให้คุณตรวจทานคำตอบอีกครั้ง คุณแทบจะทำอะไรไม่ได้เลยเพราะคุณไม่สามารถย้อนกลับไปฟังบทสนทนาได้อีกครั้ง ฉะนั้นแทนที่คุณเอาเวลาตรงนั้นไปตรวจทานคำตอบ สู้ไปยังคำถามต่อไปดีกว่า คุณจะมีเวลาเท่ากับ 1 นาที (แทนที่จะเป็น 30 วินาที) ใช้เวลานี้ให้คุ้มค่าดีกว่า
  4. ระวังการเรียงลำดับคำถามให้ดี– บ่อยครั้งที่คุณต้องเติมตารางให้สมบูรณ์ และบางครั้งเป็นแผนภาพหรือแผนภูมิ คำถามไม่ได้ถูกเรียงไว้จากซ้ายไปขวา ฉะนั้นตรวจดูให้ดีไม่งั้นคุณอาจหลงและสับสนได้
  5. ดูสองคำถามในเวลาเดียวกัน– มีเหตุผล 2 ข้อในการทำเช่นนี้ เหตุผลแรกคือบางคำถามอาจมีคำตอบสองคำตอบใกล้กันอยู่ในประโยคเดียวกัน คุณอาจจะพลาดคำตอบไปหนึ่งข้อถ้าคุณอ่านคำถามแค่ข้อเดียว เหตุผลที่สองคือคุณอาจไม่รู้ตัวว่าคุณพลาดคำตอบไปแล้ว คุณกลับไปอ่านบทความอีกครั้งและหาคำตอบจากประโยคต่อไปแทน
  6. ข้ามไปทำข้อต่อไป– หากคุณรู้ตัวว่าตอบคำถามข้อนั้นไม่ได้ ลืมมันไปอย่างเร็วและทำข้อต่อไปก่อนเพราะคุณทำอะไรไม่ได้ และคุณสามารถเดาคำตอบได้เหมือนกันในช่วงท้ายที่คุณต้องย้ายคำตอบลงในกระดาษคำตอบ หากคุณรู้ตัวว่าตอบคำถามสองสามข้อไม่ได้ให้ข้ามไปก่อนเช่นกัน อย่าตกใจแค่ตั้งใจทำข้อต่อไป คำถามที่คุณไม่รู้สองสามข้ออาจไม่มีผลต่อคะแนนของคุณเลยก็เป็นได้
  7. ดูคนอื่นหากคุณพลาดไม่รู้จะทำอย่างไรจริงๆ – ถ้าคุณหลงทางไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหนแล้ว มองดูที่ผู้สอบคนอื่นว่าเขาพลิกหน้ากระดาษคำถามไปหน้าไหน คุณจะได้รู้ว่าคุณกลับไปที่ที่ถูกต้อง
  8. มองหาคำตอบที่มีความหมายเหมือนกัน– จำไว้ว่าสิ่งที่คุณได้ยินไม่เหมือนเป๊ะกับสิ่งที่เขียนในการดาษคำถามเพราะมันจะง่ายเกินไป สิ่งที่ใช้ในคำถามคือคำที่มีความหมายเหมือนฉะนั้นคุณต้องตั้งใจฟังให้ดี
  9. อย่าสนใจคำศัพท์ที่คุณไม่รู้– อย่ากังวลหรือตกใจกลัวหากได้ยินคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย มันอาจไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ความหมายของคำศัพท์เลยก็ได้ เพราะคุณก็สามารถเดาได้
  10. ขีดเส้นใต้คำสำคัญ– ตอนที่คุณดูไปที่คำถามตอนแรก โดยเฉพาะช่วง 3 และ 4 ที่ยากขึ้นนั้น ให้คุณขีดเส้นใต้คำสำคัญ (อาทิเช่น ชื่อคน สถานที่ และวันที่) ในประโยคคำถามเพื่อที่คุณได้ยินมันจะได้ตอบได้ทันที อีกอย่างที่ต้องจำคือ ที่อธิบายไว้ข้อที่แล้วว่ามีการใช้คำที่มีความหมายเหมือนอยู่เสมอ
  11. ระวังเรื่องการสะกดคำและไวยากรณ์– คุณจะไม่ได้คะแนนถ้าคุณสะกดคำผิดหรือไวยากรณ์ไม่เหมาะสม ฉะนั้นในขณะที่คุณย้ายคำตอบลงในกระดาษคำตอบในช่วงท้าย ตรวจทานให้ดีอีกครั้ง ประโยคที่อยู่ในกระดาษคำถามอาจช่วยคุณในเรื่องไวยากรณ์ ว่าถูกหลักไวยากรณ์หรือไม่ ควรใช้กริยา คำนาม หรือคำคุณศัพท์กันแน่
  12. ใช้คำสะกดแบบอังกฤษหรืออเมริกัน– มีคำกล่าวไว้ในเวบไซต์ทางการของ IELTS ว่า “IELTS recognises both British and American English in terms of spelling, grammar and choice of words” ฉะนั้นคุณสามารถใช้คำสะกดแบบอังกฤษหรือเมริกาก็ได้
  13. อย่ากังวลกับสิ่งที่คุณเขียนในกระดาษคำถาม– ในการฝึกทำข้อสอบ เป็นเรื่องธรรมดาที่นักเรียนจะลบหรือขีดเส้นข้ามไปมาในกระดาษคำถาม จำไว้ว่าไม่มีใครสนใจหรือให้คะแนนสิ่งที่คุณเขียนในนั้น อย่าเสียเวลาสนใจการสะกดคำหรืออย่างอื่นเพราะหากคุณทำเช่นนั้นคุณจะหลงได้ คุณต้องตั้งใจฟังแล้วจดสิ่งที่คุณได้ยินและทำต่อไป คุณสามารถตรวจการสะกดคำว่าถูกหรือไม่ในขณะที่คุณย้ายคำตอบลงในกระดาษคำตอบ
  14. อ่านคำสั่ง– เคล็ดลับข้อนี้สำคัญมากในทุกๆส่วนของข้อสอบคือคุณต้องอ่านคำสั่งให้ดีอยู่เสมอ คำสั่งจะบอกให้คุณเขียนกี่คำ เพราะถ้าคำสั่งบอกให้คุณเขียนแค่สองคำแต่คุณเขียนสามคำ คำตอบคุณผิด และถ้าคำสั่งบอกให้เขียนคำเดียว ตัวอย่างเช่น ถ้ามีช่องว่างให้เติม “at …… pm” และคุณเขียน “at 5pm” ลงในกระดาษคำตอบ คำตอบคุณผิด คุณต้องเขียนแค่เลข 5 ตัวเดียวเท่านั้น
  15. ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่– คำถามมักจะทดสอบว่าคุณสามารถใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ได้หรือไม่ และนี้เป็นข้อความที่กล่าวไว้ในเวบไชต์ของ British Council “You may write your answers in lower case or capital letters” ฉะนั้นคุณสามารถเขียนคำตอบของคุณทั้งหมดเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ได้ถ้าคุณต้องการ จากคำกล่าวที่ระบุไว้ใน British Council  คุณจะไม่ถูกทำโทษ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเขียนคำว่า  ‘paris’  แทนที่จะเขียนว่า ‘Paris’  เพราะเขาได้บอกไว้ว่าคุณสามารถเขียนตัวพิมพ์เล็กได้ แต่อย่างไรก็ตามเราขอแนะนำว่าคุณควรพยายามใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ให้ถูกต้องจะปลอดภัยที่สุด ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าตัวแรกของคำต้องใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หรือไม่ ให้เขียนตัวพิมพ์ไปทั้งคำเลย
  16. ฟังสำเนียงอังกฤษให้ชิน– เคล็ดลับข้อสอบ Listening ของ IELTS ที่ดีข้อหนึ่งคือฝึกฟังจากทุกสำเนียง ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย อเมริกัน แคนาดา นิวซีแลนด์ และสำเนียงผสมของประเทศยุโรป อย่างไรก็ตามถึงแม้จะว่าจะมีการผสมผสานหลากหลายสำเนียงในข้อสอบ แต่สำเนียงหลักแล้วคือสำเนียงอังกฤษ (แตกต่างจากข้อสอบ TOEFL ที่ส่วนใหญ่เป็นสำเนียงอเมริกัน) ฉะนั้นควรฝึกฟังสำเนียงอังกฤษเยอะๆ
  17. ฝึกออกเสียงตัวอักษรและตัวเลข– บ่อยครั้งที่ในเทปจะมีการสะกดคำและตัวเลข ฉะนั้นคุณต้องมั่นใจว่าคุณคุ้นชินกับการออกเสียงของแต่ละตัวอักษรจากหลากหลายสำเนียง ไม่ใช่แค่คำเท่านั้น
  18. ระวังสิ่งที่คุณเขียนลงไป– ผู้พูดในเทปเสียงมักจะหลอกเรา พูดคำตอบนั้นออกมาและหลังจากนั้นก็แก้คำที่พูด ฉะนั้นคำตอบแรกที่ดูเหมือนจะเป็นคำตอบที่ถูกอาจจะผิดก็ได้ คุณสามารถดูตัวอย่างได้จากที่นี่
  19. อย่าเว้นว่างคำตอบ– คุณจะไม่ถูกหักคะแนนหากตอบผิด (หรือคุณไม่แน่ใจว่าคำตอบคืออะไร) ดังนั้นถ้าเป็นไปได้คุณควรใช้การเดา
  20. ย้ายคำตอบลงในกระดาษคำตอบให้ดี– ถ้าคุณย้ายคำตอบที่ถูกลงผิดที่ คำตอบของคุณก็ผิด ฉะนั้นตรวจดูให้ดีว่าคุณใส่คำตอบถูกต้องกับคำถาม คุณจะพลาดได้ง่ายถ้าเว้นคำตอบไว้เพราะคุณอาจย้ายคำตอบผิดที่เวลาคุณย้ายคำตอบลงในกระดาษคำตอบ ฉะนั้นถ้าคุณไม่รู้คำตอบให้เดาไปก่อนอย่าเว้นว่างไว้
  21. ตรวจทานคำตอบ– ดูให้ดีว่าคุณตรวจทานการสะกดคำและไวยากรณ์ด้วยเช่นกันตอนที่คุณย้ายคำตอบในช่วงท้าย
  22. ตั้งใจฟังมากๆ– ตั้งใจฟังให้มากๆตลอดข้อสอบ มุ่งมั่นและจดจ่อ อย่าวอกแหวกกับสิ่งที่อยู่รอบตัวคุณ และอย่าตกใจหากคุณคิดว่าคุณพลาดคำตอบหรือตอบผิดไปเพราะมันจะรบกวนการตั้งใจฟังของคุณ
  23. ฝึกการฟัง– เคล็ดลับนี้เป็นข้อหนึ่งที่สำคัญที่สุด คุณต้องฝึกการฟังให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ได้ คุณสามารถฝึกฟังตัวอย่างข้อสอบ Listening ของ IELTS ได้แต่คุณก็ควรฝึกฟังภาษาอังกฤษในส่วนอื่นๆให้มากที่สุดด้วยเช่นกัน ตั้งเป้าหมายในระดับที่คุณเป็นอยู่ขณะนั้น ไม่มีประโยชน์เลยหากคุณฟังข่าว BBC World และคุณไม่เข้าใจอะไรเลย  ค้นหาแหล่งข้อมูลการฟังจากอินเตอร์เนตที่เหมาะกับระดับของคุณและค่อยๆเพิ่มความยากขึ้นไป และอย่ากังวลถ้าการฟังนั้นไม่ใช่ข้อสอบใน IELTS การฟังทุกประเภทมีประโยชน์ทั้งนั้น พยายามทำให้การฟังเป็นเรื่องสนุกและฟังในสิ่งที่คุณชอบ คุณสามารถฟังสิ่งที่ยากขึ้นเมื่อคุณได้พัฒนาแล้ว
  24. ฟังการบรรยาย– จำไว้ว่าการสอบช่วงสุดท้ายคือการบรรยาย ฉะนั้นฝึกฟังการบรรยายและจดโน๊ตไว้ การบรรยายมักมีรูปแบบที่ชัดเจนแน่นอน อาทิเช่น คำนำที่จะบอกคุณเกี่ยวกับหัวข้อและใจความสำคัญและจะมีคำใบ้บอกคุณถ้ามีการเปรียบเทียบ อาทิเช่น คำว่า “although” หรือการเปลี่ยนใจความสำคัญใหม่ เช่น คุณจะได้ยินคำว่า “Now I’ll discuss….” ฉะนั้นการฝึกการฟังคำบรรยายจะช่วยคุณในข้อสอบส่วนนี้ คุณจะพบหัวข้อการบรรยายมากมาย การบรรยายของ TED มีประโยชน์มากเพราะมีคำบรรยายให้คุณตรวจดูว่าคุณเข้าใจถูกต้องหรือไม่ด้วย
  25. เรียนรู้การฟังและเขียนไปพร้อมๆกัน– การฝึกทักษะการฟังเป็นสิ่งสำคัญ แต่จำไว้ว่าในข้อสอบคุณต้องทั้งเขียนและฟัง ฉะนั้นคุณควรฝึกไว้ด้วย วิธีหนึ่งที่ช่วยได้คือฝึกฟังเทปและจดโน๊ตในเวลาเดียวกัน สิ่งนี้จะช่วยให้คุณพัฒนาทักษะทั้งการฟังและการเขียนไปในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย

Credit :  ieltsbuddy.com