เคล็ดลับและกลยุทธ์ True, False, Not Given

ข้อสอบ Reading ในส่วน ‘True, False, Not Given’ ต้องการให้คุณวิเคราะห์ว่าข้อมูลในเนื้อหานั้นถูกต้องหรือไม่ ซึ่งในข้อสอบจะมีข้อความที่เป็นข้อเท็จจริงมาจำนวนหนึ่งและคุณต้องตรวจเช็คว่าในบทความได้กล่าวไว้จริงหรือไม่ นี่ถือได้ว่าเป็นข้อสอบ Reading ส่วนที่ยากที่สุดเลยก็ว่าได้

ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ:

  • การดูตัวอย่างประโยคคำถาม
  • ชี้แจงปัญหาที่พบได้บ่อย
  • ให้ความหมายที่แท้จริงของ ‘True’, ‘False’ และ ‘Not Given’
  • ให้เคล็ดลับและคำแนะนำกับคุณ
  • เตรียมกลยุทธ์ให้คุณได้ใช้ในวันสอบจริง

ในบทความนี้ เมื่อผมได้กล่าวถึง “ประโยค” นั่นหมายถึงผมกำลังพูดถึงคำถามอยู่ ไม่ใช้เนื้อหาที่อยู่ในตัวบทความ

ตัวอย่างคำถามในข้อสอบช่วง True, False, Not Given ซึ่งตัวอย่างนี้ได้ถูกนำมาจากเวบไซต์ ielts.org

อย่างที่คุณเห็นด้านบนแล้วว่า ในข้อสอบจะมีข้อความที่เป็นข้อเท็จจริงมาจำนวนหนึ่งและคุณต้องตรวจเช็คในบทความและตัดสินใจว่าประโยคนั้นคือ true, false หรือ not given

ปัญหาที่พบได้บ่อย

ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือ ตัวเลือก ‘not given’ นักเรียนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับการตอบคำถามเช่นนี้และมันก่อให้เกิดปัญหามากมายเพราะนักเรียนเกิดความไม่แน่ใจว่าต้องตอบอย่างไร นักเรียนยังใช้เวลาเยอะมากเกินไปเพื่อให้แน่ใจว่าข้อนั้นตอบ ‘not given’ จริงๆและยังมีผลกระทบกับข้อสอบส่วนที่เหลืออีกด้วย

นอกจากนี้นักเรียนยังไม่เข้าใจความหมายของแต่ละประโยคอย่างแท้จริงอีกด้วย จึงทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ว่าถูกหรือผิดกันแน่ นักเรียนหลายคนโฟกัสไปที่คำสำคัญแทนความเข้าใจโดยรวมของประโยคนั้น ปัญหาที่พบได้บ่อยอีกข้อคือการวิเคราะห์หาคำสำคัญในประโยคและจากนั้นพยายามหาคำที่เหมือนกันเป๊ะในเนื้อหา คุณสามารถทำตามวิธีนี้ได้แต่บ่อยครั้งที่คำนั้นเป็นคำที่มีความหมายเหมือน

สุดท้ายคือ นักเรียนบางคนไม่เข้าใจความหมายของ true, false และ not given เลยว่าแท้จริงแล้วหมายถึงอะไรและเกิดความสับสน คราวนี้เรามาดูกันว่าจะแก้ปัญหาที่พบได้บ่อยนี้อย่างไร จริงๆแล้วอะไรคือ true, false และ not given กันแน่? สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องจดจำคือคำว่า true, false และ not given หมายความว่าอะไรกันแน่และนั่นคือสิ่งที่ IELTS ต้องการให้คุณตอบ

  • หากเนื้อหามีความสอดคล้องหรือมีหลักฐานยืนยันข้อมูลของประโยค คำตอบคือ TRUE
  • หากเนื้อหาขัดแย้งหรือตรงกันข้ามกับข้อมูลของประโยค คำตอบคือ FALSE
  • หากไม่มีข้อมูลหรือเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ คำตอบคือ NOT GIVEN

TRUE หมายถึงความหมายที่เหมือนกัน แต่หากแค่คล้ายเท่านั้นก็จะเป็น FALSE จำไว้ว่าเราเผชิญหน้าอยู่กับข้อมูลที่เป็นความจริง ฉะนั้นไม่มีสิทธิ์ที่เราจะบอกว่าคล้ายคลึงหรือแทบจะเหมือนกัน

นักเรียนหลายคนแย้งผมในช่วงระหว่างที่ฝึกทำข้อสอบและพูดว่าประโยคที่ตอบ true เพราะมัน “คล้ายว่า“ ซึ่งความหมายเหมือนกัน ในข้อสอบไม่มีคำว่า “คล้ายว่า” กับคำถามเหล่านี้มีเพียงความจริงเท่านั้น

สำคัญมาก – ไม่ใช่แค่ว่าคำตอบ NOT GIVEN ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีคำในประโยคตรงกับคำที่อยู่ในเนื้อเรื่อง นี่เป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนสับสน ถ้ามีคำที่เข้าคู่กัน คำตอบต้องเป็น  TRUE หรือ FALSE ถูกต้องใช่มั้ย ก็ไม่เชิงนะนี่ไม่ใช่วิธีการคิดที่ดีนักในการตอบคำถามเพราะอาจเป็นไปได้ว่าคำตอบเป็น NOT GIVEN ทั้งๆที่มีคำที่เข้าคู่กันอยู่ มันแค่ไม่มีข้อมูลมากพอที่จะตอบคำถามทั้งหมด

เคล็ดลับขั้นสุด 10 ข้อ

  1. อย่าสนใจกับสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้วเกี่ยวกับหัวข้อและอย่าตั้งสมมุติฐานใดๆ ให้ยึดเอาคำตอบที่อยู่ในเนื้อหาเป็นหลักเท่านั้น
  2. วิเคราะห์หาคำที่บอกคุณสมบัติของประโยค ตัวอย่างเช่น some, all, mainly, often, always และ occasionally. คำเหล่านี้จะอยู่ในเนื้อหาเพื่อทดสอบว่าคุณได้อ่านประโยคทั้งประโยคหรือไม่เพราะคำเหล่านี้สามารถเปลี่ยนความหมายของประโยคได้ ตัวอย่างเช่น ‘Coca-Cola has always made its drinks in the U.S.A.’ มีความหมายแตกต่างจากประโยคนี้ ‘Coca-Cola has mainly made its drinks in the U.S.A.’
  3. ระวังเมื่อคุณเห็นคำกริยาที่บอกคุณสมบัติของประโยค อาทิเช่น suggest, claim, believe และ know ตัวอย่างประโยคเช่น ‘The man claimed he was a British citizen,’ และ ‘The man is a British citizen’ สองประโยคนี้มีความหมายแตกต่างกัน
  4. จะต้องมีคำตอบที่ถูกต้องอย่างน้อยหนึ่งข้อจากทั้งสามข้อ ถ้าคุณไม่รู้ว่าข้อไหนถูก จะต้องมีอย่างน้อยข้อหนึ่งที่คุณรู้ว่าผิด
  5. อย่าอ่านเนื้อเรื่องคร่าวๆเพื่อหาคำตอบ คุณจะต้องอ่านส่วนที่เหมาะสมของเนื้อเรื่องอย่างตั้งใจเพื่อที่จะเข้าใจว่าผู้เขียนต้องการสื่ออะไร
  6. อย่ามองหาคำที่มีความหมายตรงกันกับในประโยค คุณควรมองหาคำที่มีความหมายเหมือน จำไว้ว่าคุณกำลังจับคู่ความหมาย ไม่ใช่จับคู่คำ
  7. หากคุณไม่สามารถหาข้อมูลที่คุณกำลังมองหาอยู่ได้ คำตอบอาจเป็น ‘not given’ ก็ได้ อย่าเสียเวลามองหาสิ่งที่ไม่อยู่ในเนื้อเรื่อง
  8. หากคุณไม่รู้จริงๆว่าคำตอบคืออะไร ให้ตอบ ‘not given’ ไปเลย เป็นไปได้ที่คุณไม่รู้เพราะคำตอบไม่อยู่ในเนื้อเรื่อง
  9. คำตอบเรียงกันอยู่ในเนื้อหา อย่าเสียเวลาย้อนกลับไปอ่าน อ่านต่อไปเรื่อยๆ
  10. คำถามประเภท YES/NO/NOT GIVEN มีความเกี่ยวเนื่องกับความคิดเห็นซึ่งแตกต่างจาก TRUE/FALSE/NOT GIVEN เล็กน้อยเพราะคำถามประเภทนี้เกี่ยวเนื่องกับข้อเท็จจริง

กลยุทธ์ในการทำข้อสอบ

นี่เป็นกลยุทธ์ที่ผมแนะนำ แต่จริงๆแล้วมีกลยุทธ์อื่นอีกมากมายซึ่งคุณควรใช้หลักการที่คุณรู้สึกว่าเหมาะกับตัวคุณเอง และคุณยังสามารถนำหลักการเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับตัวคุณได้อีกด้วย

  1. ตั้งใจอ่านคำสั่งอยู่เสมอและให้แน่ใจว่าคำสั่งนั้นเป็นแบบ TRUE/FALSE/NOT GIVEN หรือ YES/NO/NOT GIVEN
  2. ตั้งใจอ่านประโยคทั้งหมด พยายามเข้าใจว่าประโยคทั้งประโยคนั้นหมายความว่าอย่างไรมากกว่าการจับคำสำคัญในประโยคเท่านั้น ระวังคำที่บ่งบอกคุณสมบัติอย่างคำว่า some หรือ always
  3. พยายามนึกคำที่มีความหมายเหมือนกันในเนื้อเรื่อง สิ่งนี้จะช่วยให้คุณวิเคราะห์หาส่วนที่เข้ากันกับเนื้อหาได้
  4. จับคู่ประโยคกับส่วนที่ถูกต้องในเนื้อหา
  5. เล็งไปที่ประโยคอีกครั้ง จากนั้นอ่านส่วนที่คู่กันของเนื้อหาอย่างตั้งใจเพื่อจะรู้ให้ได้ว่ามัน true หรือ false จำไว้ว่าความหมายควรจะต้องตรงกับประโยคถึงจะตอบ true ได้
  6. ขีดเส้นใต้คำที่บอกคำตอบคุณ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณตั้งใจและสามารถกลับไปตรวจทานอีกครั้งได้ อีกครั้ง ระวังว่าจะไม่มีคำที่บอกคุณสมบัติในเนื้อเรื่อง
  7. หากคุณไม่มีสามารถตอบได้จริงๆ ให้ตอบ‘not given’ และข้ามไปทำข้อต่อไป
  8. หากคุณไม่แน่ใจหรือไม่สามารถหาคำตอบเจอได้ ให้ตอบ ‘not given’ ไปเลย

Credit : ieltsadvantage.com