เคล็ดลับธรรมดาแต่มีประสิทธิภาพมาก

วันนี้เราจะขอแบ่งปันเรื่องราวดีๆของ Felix Moon หนุ่มเกาหลี อาศัยอยู่ที่ประเทศนอร์เวย์ในขณะนี้ Felix อายุ 18 ปีและภาษาแม่ของเขาคือภาษาเกาหลี และนี่คือสิ่งที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จได้คะแนนรวม Band 8 ในข้อสอบ IELTS

ผมเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติที่นอร์เวย์ตั้งแต่เกรด 1 จนถึงเกรด 10 ซึ่งช่วยผมได้มาก ผมจึงมีเคล็ดลับสองสามข้อสำหรับผู้ที่ต้องการสอบ IELTS ในอนาคต:

การฟัง

การฝึกฝนที่ดีที่สุดที่ทุกคนทำได้คือฟังภาษาอังกฤษทุกประเภท (ไม่ว่าจะเป็นข่าว ตัวอย่างข้อสอบการฟังของ IELTS และอื่นๆอีกมากมาย) และจดบันทึกใจความสำคัญ ไปจนกระทั้งตอบคำถามตามตัวอย่างข้อสอบ IELTS จากแผ่นดิสก์ เมื่อคุณทำข้อสอบจริงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณจะไม่หลงประเด็น ซึ่งหมายถึงการเขียนจากการคาดเดาของตัวคุณเอง ทางที่ดีที่สุดคือคุณต้องเขียนจากสิ่งที่ได้ยิน คำต่อคำ เท่าที่ผมเข้าใจมาตลอดคือคนที่ตอบคำถามในช่วงการฟังและการอ่านคือคนทำงานพาร์ทไทม์ ที่มองหาคำตอบและตอบคำถามตามที่ระบุไว้ในกระดาษคำตอบ ฉะนั้นคุณไม่ควรเขียนความคิดเห็นของคุณเองลงไป แต่ให้ฟังจากเทปเสียงและเขียนให้ตรงตามที่คุณได้ยิน

การอ่าน

สำหรับข้อสอบส่วนการอ่าน คำแนะนำที่ดีที่สุดที่ผมจะบอกคุณคืออ่านให้มากและจดบันทึกใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง อีกครั้งที่ต้องกำชับว่าอย่าเขียนตามความคิดเห็นของตัวคุณเอง สิ่งที่คุณต้องทำทั้งหมดคือมองหาคำตอบในบทความและเขียนให้ตรงตามที่คุณอ่าน (โดยเขียนให้ตรงกับจำนวนคำที่กำหนดไว้) สิ่งที่ผมทำระหว่างทำข้อสอบการอ่านนั่นคืออ่านคำถามก่อนและมองหาคำตอบในบทความ เพราะการจำคำถามง่ายกว่าการจำทั้งบทความ และเมื่อคุณเจอคำถาม “true, false and not given” อย่าเดา ให้อ่านบทความให้ดีและตอบคำถามจากสิ่งที่คุณอ่าน

การพูด

ความมั่นใจเป็นกุญแจสำคัญ หากคุณไม่แน่ใจในสิ่งที่คุณกำลังจะพูด นั่นไม่ใช่ปัญหาเพราะกรรมการไม่ได้ต้องการมองหาว่าสิ่งที่คุณพูดเป็นความจริงหรือไม่ แต่กรรมการต้องการเพียงให้คะแนนทักษะทางการพูดของคุณเท่านั้น ดังนั้นไม่เป็นไรถ้าคุณจะตอบสิ่งที่ไม่เป็นความจริงในบางคำถาม แต่อย่าตอบปฏิเสธ ถ้าถูกถามคำถาม เช่น “Do you enjoy reading books?” อย่าตอบว่า “No, I do not like reading books”. อาจฟังดูไม่ดีนัก แต่หากคุณต้องตอบปฏิเสธจริงๆ ผมแนะนำว่าคุณควรพูดแบบนี้ “I am not really interested in reading books because… But if I had to choose a favourite book it would be…” เหตุผลที่คุณต้องตอบแบบนี้ไม่เพียงแต่พูดให้ยาวขึ้น แต่พยายามอธิบายว่าทำไมคุณถึงไม่ชอบหนังสือและเลือกหนังสือเล่มโปรด  (แต่งขึ้นมาเอง) เพราะคุณไม่ต้องการให้กรรมการทำต่ออีกว่า “Why?” หรือ “If you had to choose, which book would you recommend to others?”. หากกรรมการถามแบบนี้ นั่นหมายความว่าคุณให้ข้อมูลไม่เพียงพอ

และเป็นสัญญาณว่าคุณจะได้คะแนนน้อยลง ยิ่งไปกว่านั้นคือผมต้องการพูดว่าทางที่ดีที่สุดในการฝึกคือพูดกับคนอื่นเป็นภาษาอังกฤษ หากคุณไม่สามารถทำได้จริงๆ ง่ายๆคือหาตัวอย่างคำถามสำหรับข้อสอบส่วนการพูดจากอินเตอร์เนต เตรียมให้พร้อมในทุกประเภทของคำถามเพราะคุณจะไม่รู้เลยว่าจะเจอคำถามประเภทไหน สำหรับส่วนที่ 2 ข้องข้อสอบการพูด ที่คุณต้องพูดโดยใช้เวลาประมาณ 2 นาที พยายามฝึกพูดด้วยนาฬิกาจับเวลาเพื่อที่คุณจะได้รู้ตัวเองว่าเวลา 2 นาทียาวแค่ไหน สิ่งนี้ช่วยผมได้มากเพราะผมพูดไปประมาณ 1 นาที 50 วินาที อย่ากลัวที่จะพูดเกินเวลาไปสักเล็กน้อย กรรมการจะบอกให้คุณหยุดเอง และเท่าที่ผมทราบมาคือกรรมการจะไม่ตัดคะแนนคุณ นอกเหนือจากว่าคุณจะพูดซ้ำไปซ้ำมา ฉะนั้นคุณควรพูดอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 1 นาที 30 วินาที

การเขียน

มีหลายคนที่เครียดและเป็นกังวลกับข้อสอบส่วนนี้ ผมก็เครียดเหมือนกัน สิ่งที่คุณต้องทำคือเขียนให้เยอะ และหากคุณค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เนต คุณจะพบกับเวบไซต์ที่คุณสามารถส่งงานเขียนของคุณไปและได้ผลคะแนนกลับมาพร้อมด้วยความคิดเห็นและการแก้ไข  คุณต้องอ่านคำถามอย่างรวดเร็วเพราะคุณมีเวลาไม่มากในการทำข้อสอบ และเริ่มลงมือเขียน ไม่มีเวลาให้คุณรวบรวมความคิดมากนัก และหากคุณทำไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดจะก่อให้เกิดผลเสียได้ คำถามที่น่าจะเจอในการเขียน task 1 คือการวิเคราะห์แผนภาพที่แตกต่างกันออกไป (pie-charts, bar graphs, maps และอื่นๆ) จุดสำคัญคือจับแนวทางให้ได้และเขียนบทความ 150 คำ การเขียน task 2 จะประกอบด้วยหลากหลายหัวข้อที่คุณต้องเลือกเขียนจาก 3 หัวข้อ ต้องเขียนให้ได้ถึง 250 คำซึ่งหมายความว่าคุณไม่สามารถเขียนข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์ได้เลย แต่หากคุณมีเวลาบ้างในการรวบรวมความคิด รีบจดแนวความคิดที่สำคัญที่สุดและเริ่มเขียน

ส่วนตัวแล้วผมแนะนำการฝึกเขียนในรูปแบบของ PEEL ซึ่งย่อมาจากคำว่า

Point – นี่คือประเด็นของคุณซึ่งไม่ควรยากมากกว่า 2 ประโยค

Explanation การอธิบาย ,

Example – มาพร้อมกับตัวอย่างที่สนับสนุนประเด็นของคุณ ไม่เกิน 2 ตัวอย่าง

Link – กลับไปยังประเด็นของคุณและสรุปบทความ

พยายามใช้ศัพท์ทางวิชาการและคำเชื่อมทั้งหลาย (additionally, moreover, thus, nevertheless และอื่นๆ) อย่าใช้ตัวย่อเด็ดขาดและพยายามอย่าใช้ตัวลดรูปด้วย (เช่น don’t, won’t, I’m และอื่นๆอีกมากมาย) เพราะนี่ดูไม่เป็นทางการ ควรใช้ ‘do not’, ‘would/will not’, ‘I am’ คำเหล่านี้แทน ผมหวังว่าคำแนะนำของผมจะช่วยได้บ้างเล็กน้อย และขอให้ทุกคนโชคดีกับการสอบครับ

Credit : www.ielts-blog.com