Band 8.5 ในข้อสอบ IELTS ทำอย่างไร

Maany เป็นหญิงสาวชาวอินเดียอายุ 20 ปีที่พูดภาษาทมิฬเป็นภาษาแม่ อย่างไรก็ตามเธอพูดภาษาอังกฤษได้ดีเกือบเทียบเท่าภาษาแม่เลยทีเดียว และเธอพิสูจน์ให้เห็นแล้วด้วยการได้คะแนน Band 8.5 ในข้อสอบ IELTS คะแนนรวมทั้งหมดพร้อมคะแนนเต็ม 9 ในข้อสอบการฟัง คะแนนรวมข้อสอบ Band 8.5 ในข้อสอบประเภทวิชาการ  นี่คือเคล็ดลับ:

การฟัง

ฉันพบว่ามันมีการแข่งขันสูงมาก แต่เมื่อคุณตั้งใจฟังเป็นอย่างดีก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะสามารถทำคะแนนเต็ม 9 ได้ เคล็ดลับเพียงอย่างเดียวที่ฉันจะแนะนำคือตั้งใจกับบทสนทนาอย่างเต็มที่และหลีกเลี่ยงการใช้ยางลบในขณะที่กำลังทำข้อสอบ

การอ่าน

เพื่อนที่สอบพร้อมฉันส่วนใหญ่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าข้อสอบการอ่านยากมาก อย่างไรก็ตามฉันทำคะแนนได้ 8.5 ฉันแนะนำเรื่องการมองหาคำที่มีความหมายเหมือนและไม่ใช่คำตรงตัวที่กล่าวถึงในคำถาม และเพื่อหลีกเลี่ยงเวลาที่จะหมดก่อนพยายามย้ายคำตอบลงในกระดาษคำตอบหลังจากจบแต่ละย่อหน้าเสมอ พยายามสรุปใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้าในขณะที่คุณอ่านเพื่อเป็นการประหยัดเวลา

การเขียน

อย่าเขียนบทความยาวเกินไป ฉันเสียเวลาไปอย่างมากในการเขียนซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมฉันถึงได้แค่ 7.5 พยายามใช้เวลาอ่านบทความที่ยาวให้มากกว่า หลังจากเขียนเสร็จคุณจะมีเวลาในการใช้คำที่สวยหรู แทนที่คำธรรมดาที่ใช้อยู่ทุกวันซึ่งอาจเป็นการสร้างความประทับใจให้กับกรรมการก็เป็นได้

การพูด

การพูดของฉันผิดปกติทั้งหมดแต่ฉันยังสามารถทำคะแนนได้ถึง 8 ฉันเชื่อว่าฉันสามารถทำได้ดีกว่านั้นอีกมากหากฉันไม่จดโน๊ตผิดในการ์ดคำถาม  พยายามหลีกเลี่ยงคำอุทาน เช่น ‘urgh’ และ ‘hmm’ เพราะเป็นการสร้างความประทับใจที่ไม่ดี ต้องให้แน่ใจว่าคุณได้เพิ่มคำคมหรือสำนวนในการพูด 2 นาทีของคุณด้วย มันจะช่วยเพิ่มความประทับใจในบทนำหรือบทสรุปได้

สิ่งที่ช่วยให้ Bahar ได้คะแนน Band 8.5 (ข้อสอบการอ่าน)

เคล็ดลับการอ่านเหล่านี้ได้รับการแบ่งปันมาจาก Bahar ที่ได้รับคะแนนรวมทั้งหมด 8.5 (ด้วยคะแนนเต็ม 9 ในข้อสอบการอ่าน) คุณสามารถอ่านคำแนะนำของเธอสำหรับข้อสอบการพูดได้ที่นี่

 วิธีในการเริ่มต้น

ก่อนไปยังคำถาม ให้อ่านบทความอย่างคร่าวๆเพื่อที่จะได้แนวคิดโดยรวมว่าบทความกล่าวถึงอะไร จากนั้น อ่านคำถามให้ชัดเจนและมากกว่าหนึ่งครั้งเพื่อที่จะสามารถตอบคำถามได้ดียิ่งขึ้น หลังจากมีแนวคิดว่าบทความเกี่ยวกับเรื่องอะไรและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแต่ละย่อหน้าว่าหลักๆแล้วเกี่ยวกับอะไร จะเป็นการดีหากคุณพิจารณว่าคำถามนั้นเป็นของย่อหน้าไหน วิธีนี้ช่วยได้มากตามประสบการณ์ของฉัน คุณสามารถเขียนประโยคสั้นๆในแต่ละย่อหน้าเพื่อใช้ในการแยกแยะคำถามที่คุณต้องตอบได้ง่ายขึ้น จะใช้เวลาน้อยกว่าในการค้นหาตำแหน่งเมื่อคุณรู้ว่าแต่ละย่อหน้ามีเนื้อหาอะไรบ้าง

การจัดการกับคำถามที่ยาก

เมื่อต้องเผชิญหน้ากับคำถามที่ยากหรือสับสน สิ่งที่ดีที่สุดที่จะต้องทำคือปล่อยไปก่อนและไปยังส่วนอื่นและตอบคำถามอื่นก่อนในกระดาษคำตอบ เมื่อคุณตอบคำถามง่ายเสร็จแล้วคุณสามารถกลับไปยังข้อที่ยากได้ และตอนนี้คุณจะมีเวลามากพอในการใช้สมาธิกับคำถาม ดังนั้น คุณจะผ่อนคลายมากขึ้นและสามารถคิดได้อย่างชัดเจน โดยปราศจากความกังวลเกี่ยวกับคำถามอื่นเพราะคุณทำเสร็จไปหมดแล้ว

เคล็ดลับการทำข้อสอบ TRUE/FALSE/NOT GIVEN

อย่าสับสนระหว่าง No และ Not Given หรือ False กับ Not Given หากคุณต้องมาเจอกับคำถามประเภท YES, NO, NOT GIVEN หรือ TRUE, FALSE, NOT GIVEN เมื่อประโยค False ต้องมั่นใจว่าได้หาสิ่งที่ตรงกันข้ามอย่างแน่นอนในบทความแล้ว หากคุณหาไม่เจอหรือประโยคนั้นไม่ถูกกล่าวถึงในบทความ ดังนั้นคำตอบคือ Not Given ในขณะที่ประโยค YES หรือ TRUE คุณต้องสามารถหาให้เจอว่าอยู่ตรงไหนเพราะคำตอบมักจะถูกกล่าวถึงอย่างชัดเจนอยู่เสมอในบทความ การถอดความและคำที่มีความหมายเหมือน

เขียนคำตอบให้ถูกที่

เป็นสิ่งที่ค่อนข้างจำเป็นในการตรวจเช็คว่าคุณเขียนคำตอบถูกที่หรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากคุณเขียนคำตอบข้อที่ 12 ข้างข้อที่ 13 จากนั้นทั้งสองข้อถูกกาว่าผิดและทำให้คุณเสียถึงสองคะแนน ถึงแม้ว่าคำตอบทั้งสองข้อเป็นคำตอบที่ถูกก็ตาม ดังนั้นตรวจเช็คคำถามและคำตอบอยู่เสมอ สิ่งหนึ่งที่ทำให้แน่ใจได้คือ การเขียนแบบนี้ “question 12…C” เป็นต้น พยายามสร้างความชัดเจนในสมองสำหรับทุกคำถามที่คุณตอบเพื่อหลีกเลี่ยงการเอาคำตอบมารวมกัน

การเดาสามารถช่วยได้

จะไม่ทำให้คะแนนคุณติดลบหากคุณตอบคำถามผิด ต้องมั่นใจว่าเติมเต็มทุกช่องว่างถึงแม้ว่าคุณจะคิดว่าคำตอบของคุณไม่ถูกก็ตาม ยังคงมีโอกาสเป็นไปได้ว่าคำตอบของคุณถูก อย่ากลับไปคิดคำตอบใหม่ อย่าไตร่ตรองมากเกินไปกับคำถามที่คุณได้ตอบไปแล้ว มีโอกาสสูงแน่นอนที่คุณไม่เพียงแก้คำตอบแต่อาจจะเลือกข้อที่ผิดอีกด้วย

Credit : www.ielts-blog.com